๑. ชื่อราศี และตัวเลขที่ใช้แทนราศี (ใช้สำหรับการอ่านปฏิทินโหร ซึ่งในปฏิทินโหรจะใช้ตัวเลขบ่งบอกราศี)

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://www.youtube.com/watch?v=SZihIAw5Z1U




๒. สัญลักษณ์ประจำราศี และลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีต่างๆ


ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีเมษ

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/azlCmccQvAM

  

ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีพฤษภ

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/XH-Nm2s9dZE



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีเมถุน

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/mdB4mPpf1aY



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีกรกฎ

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/ZcqU9GYmHUo



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีสิงห์

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/BGBxhFwc_eE



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีกันย์

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/UlEIL2pI35s



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีตุลย์

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/CrbmJfAExwg



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีพิจิก

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/Zi_rdShwCe8



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีธนู

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/MdG0Na2cFOs



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีมังกร

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/ilh4rOSk14g



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีกุมภ์

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/nDXuucEEVo8



ลักษณะนิสัยของคนลัคนาราศีมีน

อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ อธิบายรายละเอียด https://youtu.be/dgSETJIqZQk





๓. เพศของราศี มีความสำคัญในเรื่องอารมณ์ เพศของบุตร หรือการรับลูกน้องบริวาร คนทำงานให้มีความสอดคล้องกับดวงชะตา



เพศของราศีนี้ต่างมีอิทธิพลต่อมนุษย์หรือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีธรรมชาติต่างกัน จึงจำแนกเป็นพฤติกรรมเพื่อให้ทราบถึงลักษณะเทียบเคียงอันจะยังประโยชน์ในการพิจารณาความเป็นไปของบุคคลหรือสรรพสิ่ง สิ่งแวดล้อมได้ชั้นหนึ่ง หรือเพื่อเป็นเครื่องมือวัดการแสดงออกหรือไม่แสดงออกของบุคคล เพศของราศีได้แยกไว้ เมื่อจะพยากรณ์ ก็จะได้นำมาประกอบการพิจารณาด้วย

๔. ภาคของราศี นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์ในการพิจารณาให้น้ำหนักของดาว ที่เกี่ยวข้องกับเรือนภพ (รายละเอียดอยู่ในบทที่ ๒ ความรู้เรื่องดาวกับการพยากรณ์ )



- ราศีภาคกลางวัน มี ๖ ราศี เริ่มจากดาวอาทิตย์ (๑) เป็นดาวประจำราศีราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลย์ ราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร
- ราศีภาคกลางคืน มี ๖ ราศี เริ่มจากดาวจันทร์ (๒) เป็นดาวประจำราศีกรกฎ ราศีเมถุน ราศีพฤษภ ราศีเมษ ราศีมีน ราศีกุมภ์

๕. ดาวประจำราศี (ดาวเกษตร หรือดาวเจ้าเรือน) นำมาใช้เป็นหลักในการพยากรณ์ (รายละเอียดอยู่ในบทที่ ๒ ความรู้เรื่องดาวพระเคราะห์ และบทที่ ๔ ความรู้เรื่องตำแหน่งดาวมาตรฐาน) 



๖. ประเภทของราศี นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์เพื่อพิจารณาเกณฑ์ที่ดีของราศี (รายละเอียดอยู่ในบทที่ ๘ ความรู้เรื่องเกณฑ์)



- ราศีปัศวะ (ราศีสัตว์สี่เท้า หรือสัตว์ใหญ่) มี ๓ ราศี ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีสิงห์
- ราศีนระ (ราศีมนุษย์) มี ๕ ราศี ได้แก่ ราศีเมถุน ราศีกันย์ ราศีตุลย์ ราศีธนู ราศีกุมภ์
- ราศีอัมพุ (ราศี สัตว์น้ำ) มี ๓ ราศี ได้แก่ ราศีกรกฎ ราศีมังกร ราศีมีน
- ราศีกีฎะ (ราศีแมลง) มี ๑ ราศี ได้แก่ ราศีพิจิก

๗. ทิศของราศี นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์เกี่ยวกับการเดินทางที่ปลอดภัย การเดินทางไปหาโชคลาภ



๘. กายวิภาคของราศี นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์เพื่อพิจารณาให้ทราบว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บอะไร ในร่างกายส่วนไหน สาเหตุมาจากอะไร (ขอบพระคุณภาพบางส่วนจากหนังสือโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ของ อาจารย์ ส. ไชยนันทน์)



ราศีเมษ ศีรษะ สมอง ดวงตา ใบหน้า
ราศีพฤษภ คอ ระบบทางเดินหายใจ หลอดลม หู
ราศีเมถุน แขน มือ บ่า ไหปลาร้า ไหล่ สะบัก
ราศีกรกฎ ทรวงอก เต้านม ปอด
ราศีสิงห์ แผ่นหลัง ชายโครง หัวใจ
ราศีกันย์ ลำไส้ ท้อง พุง กระเพาะอาหาร
ราศีตุลย์ ลำไส้เล็ก ไต ตับ ม้าม บั้นเอว มดลูก
ราศีพิจิก ท้องน้อย อวัยวะเพศ ก้นกบ ทวารหนัก ทวารเบา ไข่ดัน
ราศีธนู โคนขาบน ตะโพก เส้นประสาท ต้นขา
ราศีมังกร หัวเข่า โคนขาล่าง
ราศีกุมภ์ หน้าแข้ง น่องขา
ราศีมีน เท้า ข้อเท้า ตาตุ่ม

๙. ธาตุและความหนักเบาของราศีกับการพยากรณ์ นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์ ในการพิจารณาเกี่ยวกับ อารมณ์ อุปนิสัย ของราศีต่างๆ



๙.๑ ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) แสดงถึง ความร้อนแรง ความรุนแรง



- เมษ จรราศี (แม่ธาตุ) มีดาวอังคาร (๓) ธาตุลม เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นไฟที่มีความร้อนแรงเป็นอันมาก เปรียบเสมือนไฟเผาผลาญ ลุกโชนตลอดเวลา
- สิงห์ สถิรราศี (กลางธาตุ) มีดาวอาทิตย์ (๑) ธาตุไฟ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นไฟที่ร้อนแรงปานกลาง ไม่ร้อนมาก เปรียบเสมือนไฟที่ให้ความสว่าง
- ธนู อุภยราศี (ปลายธาตุ) มีดาวพฤหัส (๕) ธาตุดิน เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นไฟที่ค่อยๆ สะสมความร้อน เปรียบเสมือนไฟในเตาถ่าน

๙.๒ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) แสดงถึง ความคงทนถาวร ความหนักแน่นมั่นคง



- มังกร จรราศี (แม่ธาตุ) มีดาวเสาร์ (๗) ธาตุไฟ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นดินที่คงทนถาวร มีความอบอุ่น แข็งแกร่ง เปรียบเสมือนดินแห้ง หรือดินแตกระแหง
- พฤษภ สถิรราศี (กลางธาตุ) มีดาวศุกร์ (๖) ธาตุน้ำ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นดินที่อ่อนตัว มีความนุ่มนวลชุ่มชื้น สมบูรณ์ เปรียบเสมือนดินโคลน
- กันย์ อุภยราศี (ปลายธาตุ) ดาวพุธ (๔) ธาตุน้ำ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นดินเหลว เกิดความอ่อนนุ่ม เปรียบเสมือนดินร่วนซุย

๙.๓ ธาตุลม (วาโยธาตุ) แสดงถึง การเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด



- ตุลย์ จรราศี (แม่ธาตุ) มีดาวศุกร์ (๖) ธาตุน้ำ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นลมที่มีความรุนแรง เปรียบเสมือนลมไต้ฝุ่น
- กุมภ์ สถิรราศี (กลางธาตุ) มีดาวราหู (๘) ธาตุลม เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นลมที่มีการ เคลื่อนไหวตลอด เปรียบเสมือนพายุ แต่บางครั้งก็หยุดนิ่ง
- เมถุน อุภยราศี (ปลายธาตุ) มีดาวพุธ (๔) ธาตุน้ำ เป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นลมที่ไม่รุนแรง มีความชุ่มชื้น เย็นสบาย เปรียบเสมือนลมฝน

๙.๔ ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) แสดงถึงความกว้างใหญ่ไพศาล มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตามขอบเขต



- กรกฎ จรราศี (แม่ธาตุ) มีดาวจันทร์ (๒) ธาตุดินเป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล เคลื่อนไหว เปรียบเสมือนน้ำทะเล น้ำมหาสมุทร
- พิจิก สถิรราศี (กลางธาตุ) มีดาวอังคาร (๓) ธาตุลมเป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นน้ำที่มีการเคลื่อนไหวจากกระแสลม เปรียบเสมือนน้ำในแม่น้ำลำคลองขนาดเล็ก
- มีน อุภยราศี (ปลายธาตุ) มีดาวพฤหัสบดี (๕) ธาตุดินเป็นดาวประจำราศี ทำให้เป็นน้ำที่ไม่กว้างใหญ่มาก เปรียบเสมือนน้ำในบึงในคูน้ำ
(รายละเอียดเกี่ยวกับ ดาว และธาตุของดาว ที่กล่าวถึงในเรื่องธาตุและความหนักเบาของราศีกับการพยากรณ์ อยู่ในบทที่ ๒ ความรู้เรื่องดาวพระเคราะห์)


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้